หน้าเว็บ

ข่าวร้อน

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เส้นทางสู่จ่าทหารเรือ


เส้นทางสู่จ่าทหารเรือ

การสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ
          โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพเรือ การศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ (นรจ.) จะต้องเข้ารับการฝึกภาคสาธารณศึกษาเพื่อให้มีลักษณะท่าทางเป็นทหาร และรู้จักขนบธรรมเนียมของทหารเรือ ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะแยกย้ายไปศึกษาตามพรรค – เหล่า โดยเหล่าแพทย์เหล่าเดียวจะแยกไปเรียนที่โรงพยาบาสลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเวลา 2 ปี  ส่วนเหล่าอื่นยังคงศึกษาที่ร.ร.ชุมพลฯ ดังนี้
          1.  พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน เหล่าทหารสามัญ เหล่าทหารการเงิน เหล่าทหารสารวัตร เหล่าทหารสรรพาวุธ และพรรคกลิน ศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ 2 ปี จนจบหลักสูตร
          2.  พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์ ศึกษาที่โรงเรียนพยาบาล เป็นเวลา 2 ปี จนจบหลักสูตร
          3.  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ เหล่าทหารขนส่ง พรรคนาวิกโยธิน และพรรคพิเศษ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา เหล่าทหารพลาธิการ ศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. และศึกษาต่อชั้นปีที่ 2 ที่ โรงเรียนสื่อสาร โรงเรียนการขนส่งทหารเรือ โรงเรียนทหารนาวิกโยธิน โรงเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และโรงเรียนพลาธิการ ตามลำดับ
คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
          1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าของกศน.
          2.  เป็นชายโสด อายุ 17 - 20 ปี สำหรับผู้ที่เป็นทหารกองประจำการ จะต้องสังกัดกองทัพเรือ และปลดเป็นทหารกองหนุนใน 30 เม.ย. หรือทหารกองหนุนสังกัดกองทัพเรือ(ปลดจากทหารกองประจำการเท่านั้น ไม่รับนศท.) ต้องมีอายุ 18 - 24 ปี
          3.  มีสัญชาติไทย และบิดา มารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ในการสมัคร
          1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบสูติบัตรของผู้สมัคร และสำเนาใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.9)
               ***ในกรณีไม่มีใบสูติบัตรต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร บิดาและมารดา ที่แสดงสัญชาติของผู้ให้กำเนิด (ปู่-ย่า-ตา-ยาย)
          2.  สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.) ของสถานศึกษาที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา
          3.  รูปถ่ายสี หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 12 รูป (ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายไว้ในครั้งเดียวกัน และไม่เกิน 3 เดือน)
การซื้อระเบียบการและใบสมัคร
          1.  ซื้อด้วยตนเอง ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ที่
                    -  กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
                    - ห้องสมุดกลางกองทัพเรือ อาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพมหานคร
                    -  กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
                    -  โรงเรียนสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดสมุทรปราการ
                    -  โรงเรียนชุมพลทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                    -  ค่ายตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
                    -  ทัพเรือภาคที่ ๓ จังหวัดภูเก็ต
                    -  หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงทุกเขต
                    -  ร้านสวัสดิการทหารเรือ (นันทอุทยาน)
                    - ร้านสวัสดิการกรมการเงินทหารเรือ (พระราชวังเดิม)
                    -  ร้านสวัสดิการกิจการห้องเย็น (สัตหีบ)
                    - สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.2 บางนา ส.ทร.3 ภูเก็ต ส.ทร.5 สัตหีบ ส.ทร.8 พิษณุโลก ส.ทร.9 อุบลราชธานี ส.ทร.11 เชียงใหม่ ส.ทร.15 นราธิวาส)
          2.  สั่งซื้อทางไปรษณีย์ ประมาณธันวาคม – มกราคม  โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ ราคารวมค่าจัดส่ง โดยธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตู้ ปณ.11 ปณภ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 ( ให้ส่งทางธนาณัติธรรมดาหรือธนาณัติด่วนพิเศษไม่รับธนาณัติ online )
การรับสมัคร
           1.  สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ
           2.  สมัครด้วยตนเอง
                    -  ส่วนภูมิภาค ประมาณกลางเดือนมกราคม (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ตามสถานที่ ดังนี้
                                 - จังหวัดชลบุรี สวนกรมหลวงชุมพร (หนองตะเคียน) อำเภอสัตหีบ - จังหวัดสงขลา สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.6) อำเภอเมือง
                                 - จังหวัดจันทบุรี ค่ายตากสิน อำเภอเมือง - จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย อำเภอเมือง
                      -  ส่วนกลาง ตามสถานที่ ดังนี้
                                   - กรุงเทพมหานคร สำนักงานราชนาวิกสภา เขตบางกอกน้อย ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น.
                                    - จังหวัดนครปฐม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
การสอบคัดเลือก   ประมาณปลายเดือนมีนาคม
                        - การสอบรอบแรกภาควิชาการ วิชาที่สอบ  ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
                        - การสอบรอบสอง การสอบรอบสอง ประมาณต้นเดือนเมษายน  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                - การตรวจขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งการตรวจโรคและความพิการที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ  ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
                                - การทดสอบสุขภาพจิต เป็นการตรวจสอบลักษณะบุคลิกภาพ  แนวความคิด  อารมณ์  และจิตใจ ซึ่ง ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจในครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
                                - การสอบความเหมาะสม  เป็นการสอบการสัมภาษณ์ ท่วงที – วาจา  เพื่อดูลักษณะท่าทาง  และความเหมาะสมในการเป็นทหาร  และความรู้ทั่วไปที่ควรทราบ
                                                > ท่วงที – วาจา (เสียง การพูด)                      20          คะแนน
                                                > ทัศนคติ                                                  10          คะแนน
                                                > ปฏิภาณไหวพริบ                                       60          คะแนน
                                                > ลักษณะท่าทางในการเป็นทหาร                    10          คะแนน
                                - การสอบพละศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ดังนี้
                                                > ว่ายน้ำ 50 เมตร                                          100        คะแนน
                                                > วิ่ง 800 เมตร                                              100        คะแนน
                                                > ลุกนั่ง                                                        50         คะแนน
                                                > ดันข้อ                                                        50         คะแนน
สิทธิและประโยชน์ที่นักเรียนจ่าได้รับ
                นักเรียนจ่าทหารเรือในส่วนของกองทัพเรือ ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และโรงเรียนในสังกัด กองทัพเรือ จะได้รับการประดับยศเป็นจ่าตรีตามพรรคเหล่าที่สำเร็จการศึกษา ในช่วงระหว่างการศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ จะได้รับสิทธิ์และโอกาสดังนี้
                  1. ในช่วงเวลาการศึกษาอยู่ในโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
                               -  ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำวัน วันละ 75 บาท เป็นค่าอาหาร
                               -  กองทัพเรือ ออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาหาร และเครื่องแต่งกายทั้งหมด
                               -  ขณะศึกษาชั้นปีที่ 1  ได้รับเงินเดือน เดือนละ  2920 บาท
                               - ขณะศึกษาชั้นปีที่ 2  ได้รับเงินเดือน เดือนละ 3110 บาท
                               -  นักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1  ที่มีผลการศึกษาดี  จะได้รับการพิจารณาสอบคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือและในระหว่างศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ  จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี และได้รับเงินเดือน เดือนละ 5080 บาท  ไปจนจบการศึกษา (ปีละ 2 นาย)
                   2. เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
                               -  ได้รับการแต่งยศเป็นจ่าตรี  เริ่มรับเงินเดือน เดือนละ 6470 บาท
                               -  ได้รับเบี้ยค่าครองชีพชั่วคราว เดือนละ 2530 บาท
                               -  สำหรับผู้ที่ได้รับการบรรจุให้ปฏิบัติงานบนเรือหลวง จะได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับทหารหน่วยเรือ (พ.น.ร.)  อีกเดือนละ 2700 บาท นอกเหนือจากเงินเดือนตามปรกติ
                                -  เมื่อเป็นนายทหารประทวนแล้วยังมีสิทธิ์สมัครเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของตนเอง ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และมีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปรับเรือในต่างประเทศ
                                 -  นายทหารประทวนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรและสามารถสอบปรับเทียบคุณวุฒิเป็นนายทหารสัญญาบัตรปริญญาได้ตามตำแหน่งที่กองทัพเรือมีความต้องการ
                                 -  ได้รับสิทธิต่างๆ ที่ทางราชการกำหนด เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ฯลฯ
การเลือก พรรค – เหล่า                
          คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก พรรค – เหล่า  โดยใช้ความสมัครใจประกอบกับคะแนนสอบคัดเลือกฯ  ที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ซึ่งผู้สมัครสอบจะทราบพรรค – เหล่า  ของตนเองในวันประกาศผลการสอบ  ถ้ามี  พรรค – เหล่า ใดว่างลงอันเนื่องมาจากมีผู้สมัครน้อยหรือสละสิทธิ์  คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการจัด พรรค – เหล่า นั้นๆ ให้แก่ผู้สมัครสอบเพื่อให้ครบจำนวนตามที่ทางราชการต้องการ                เงื่อนไขในการเลือกพรรค – เหล่า มีดังนี้                               
          - พรรคนาวิน  เหล่าทหารสามัญ   พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน   พรรคนาวิน เหล่าทหารขนส่ง   พรรคนาวิน เหล่าทหารสรรพาวุธ   พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – วิทยุ  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – เรดาห์  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – โซนาร์  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – ทัศนสัญญาณ  พรรคนาวิกโยธิน พรรคกลิน  พรคกลิน เหล่าทหารเครื่องกล – ช่างเครื่องบิน  ต้องสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ                               
          - พรรคนาวินเหล่าทหารสารวัตร ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ และมีความสูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร                               
          - พรรคพิเศษเหล่าทหารแพทย์ ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                     > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                       
                      > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต                               
          - พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – อิเล็กทรอนิกส์  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                      > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                      
                       > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างอิเล็กทรอนิกส์)                               
           - พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – ไฟฟ้า  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                       > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                     
                        > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างไฟฟ้า)                               
          - พรรคพิเศษ เหล่าทหารพลาธิการ เหล่าทหารการเงิน  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพพาณิชยกรรม
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก The Road To Soldier & Police เส้นทางสู่อาชีพทหารตำรวจ
https://www.facebook.com/theroadtosoldierpoliceth

เส้นทางสู่ นรต. หญิง


แนวทางการรับราชการ: นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง
ขอบคุณ http://www.rpcafamily.com
การรับสมัครสอบมี 2 ประเภท
คุณสมบัติโดยสังเขป 
  • บุคคลภายนอก อายุ16- 21 ปี
  • ข้าราชการตำรวจ  อายุ ไม่เกิน 25 ปี เป็นข้าราชการตำรวจหญิงอยู่แล้วและเป็นรับราชการตำรวจมาแล้ว 1 ปี
-การศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกสาย
-สูง 160 ซม.  ขึ้นไป
-สายตาไม่สั้น เกินกว่ากำหนด ประมาณ 50-100
-เป็นหญิงโสด

วิชาที่ใช้สอบ คณิต เนื้อหา ม. 4 5 6    คะแนนเต็ม     200 คะแนน
                   วิทยฯเนื้อหา ม. 4 5 6    (ฟิสิก + เคมี)   200 คะแนน
                   ภาษาไทย   ม.ปลาย                          200 คะแนน
                   ภาษาอังกฤษ ม.ปลาย                        200 คะแนน
สอบรอบสอง    มีตรวจร่างกาย   ตรวจสุขภาพที่ รพ.ตำรวจ
สอบประวัติ      สอบประวัติอาชญากรรม
สอบพละศึกษา ว่ายน้ำ 50 เมตร วิ่ง 1000 เมตร

คะแนนเพิ่มพิเศษ
1. เป็นบุตรโดยกำเนิดของข้าราชการตำรวจ หรือบุคคลซึ่งถึงแก่กรรม หรือได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพ หรือสูญหายตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเนื่องจากปฏิบัติราชการ หรือช่วยเหลือราชการปราบโจรผู้ร้าย
2. เป็นผู้ได้รับเหรียญกล้าหาญ  หรือเป็นบุตรโดยกำเนิดของผู้ได้รับเหรียญกล้าหาญ
3 . เป็นบุตรโดยกำเนิดของผู้ที่เป็น  หรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชา หรือครูอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือสถานศึกษาอื่นใดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหลักฐานลงประวัติว่าได้สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และปีหนึ่งต้องทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง
4. เป็นบุตรโดยกำเนิดของข้าราชการตำรวจ
  • ข้อ 1  2  3 เพิ่มให้  25  คะแนน    ข้อ 4 เพิ่มให้  10 คะแนน
  • การคิดคะแนนเพิ่ม ตามข้อ1  2  3ถ้าผู้มีสิทธิได้รับคะแนนพิเศษตามหลักเกณฑ์หลายกรณีได้รับกรณีเดียว และเมื่อรวมกับ ข้อ 4 แล้วไม่เกิน 35 คะแนนโดยนำคะแนนที่ได้รับเพิ่มไปรวมก่อนประกาศผลสอบรอบสุดท้าย
การรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต http://www.rpca-admission.com/ 
ห้วงเวลาการรับสมัคร ประมาณเดือน ม.ค.ของทุกปี

ดูรายละเอียดการรับสมัครนายร้อยตำรวจหญิงได้ตามลิงค์ด้านล่าง

บุคคลภายนอก
ข้าราชการตำรวจหญิง


ขอบคุณข้อมูลจาก http://my-etc.blogspot.com/

เส้นทางสู่จ่าอากาศ


จ่าอากาศ

การสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ โรงเรียนจ่าอากาศ


          โรงเรียนจ่าอากาศ เป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวน ให้กับกองทัพอากาศ การศึกษานักเรียนจ่าอากาศ (นจอ.) จะมี 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปีสำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.3 และหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี สำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.6/ปวช. และหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี สำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.6 โดยแต่ละหลักสูตรจะมีเหล่าให้เลือกศึกษา ดังนี้
            1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปี ได้แก่
                      - ช่างอากาศ ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างอากาศยาน, เครื่องยนต์ลูกสูบ, เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์,ใบพัดอากาศยาน, เฮลิคอปเตอร์, เครื่องวัดประกอบการบิน, เครื่องช่วยในการเดินอากาศ,เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในอากาศยาน, ระบบไฟฟ้าในอากาศยาน
                      - สื่อสาร ศึกษาเกี่ยวกับช่างสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ภาคพื้น, ประจำอากาศยาน, ช่างเรดาร์,ช่างโทรคมนาคม, ช่างเครื่องวัด, ช่างโทรศัพท์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสื่อสาร
                      - สรรพาวุธ ศึกษาเกี่ยวกับอาวุธภาคอากาศ, ภาคพื้น, อาวุธติดตั้งกับเครื่องบิน, เรดาร์ควบคุมการยิง, อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ, วัตถุระเบิดทางทหารและนิรภัยวัตถุระเบิด, การทำลายวัตถุระเบิดขั้นพื้นฐาน, ชนวน
            2. หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี ได้แก่
                      - ต้นหน (จำพวกทหารควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ) ศึกษา เกี่ยวกับ การเฝ้าตรวจทางอากาศ, การพิสูจน์ฝ่าย, การควบคุมการบินสกัดกั้น, อากาศพลศาสตร์, สงครามอิเล็กทรอนิกส์, การบริการจราจรทางอากาศ, นิรภัยการบิน, การติดต่อสื่อสารในการควบคุมจราจรทางอากาศ, การบริการข่าวสารการบิน และการควบคุมทางอากาศยุทธวิธี
                      - อุตุ ศึกษา เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ ส่วนประกอบและชั้นต่างๆ ของบรรยากาศการเกิด ปรากฏการณ์ต่างๆทางอุตุนิยมวิทยาฤดูกาล การอ่านและการเขียนแผนที่ทางอากาศตามรหัสสากลขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกการเฝ้าติดตามสภาพอากาศโดยต่อเนื่องตลอดเวลา รวมถึงการให้บริการข่าวอากาศแก่ผู้ต้องการใช้ข่าวอากาศด้วยระบบการรับ-ส่งข่าวอากาศอัตโนมัติที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา
                      - สารวัตร ศึกษา เกี่ยวกับวิชากฎหมาย, แบบธรรมเนียมทหาร, วิชาการทหารสารวัตร, วิชาการประชาสัมพันธ์
                      - อากาศโยธิน ศึกษา เกี่ยวกับผู้นำและการบังคับบัญชา, ครูทหาร, ยุทธวิธีการรบ, การป้องกันฐานบินการปฏิบัติการพิเศษ (คอมมานโด/ค้นหาและช่วยชีวิต), การโดดร่มจากอากาศยาน, การยิงอาวุธด้วยกระสุนจริง
            3. หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี ได้แก่
                      - แพทย์ (สาขาวิชาพยาบาล) ศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา, การพยาบาลเวชศาสตร์การบิน, ลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ, การพยาบาลรากฐาน, การพยาบาลจิตเวชศาสตร์, การพยาบาลอนามัยชุมชน, การพยาบาลผู้ใหญ่, การพยาบาลสูติศาสตร์, การพยาบาลทหาร,การพยาบาลเด็ก
คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
             1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปี ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้                       
                         1 เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 18 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ(นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 คือ ปี พ.ศ.ปัจจุบันลบด้วยปี พ.ศ.ที่เกิด)                        
                         2 คุณวุฒิ สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า มีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00                       
                         3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (เกิดในประเทศไทย) ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดา มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้                       
                         4 มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และอวัยวะ เหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกาย ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร และระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ พ.ศ.2511
                          5 ไม่เคยมีภรรยาไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม                       
                          6 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว                       
                          7 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม                       
                          8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาและไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท                       
                          9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียนทหารของกระทรวงกลาโหมหรือสถาบันการศึกษาใดๆ                      
                          10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ                                                   11 ไม่เป็นผู้อยู่ในสมณเพศ                      
                          12 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ                                 13 ไม่เป็นผู้มีรอยสักใดๆ ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
            2. หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้                      
                           1 เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และไม่เกิน 20 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ(นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 คือ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน ลบด้วย ปี พ.ศ.ที่เกิด)                       
                           2 คุณวุฒิสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00                      
                           3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (เกิดในประเทศไทย) ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดา มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้                      
                           4 มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และอวัยวะ เหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจร่างกายทางแพทย์ฯ                      
                            5 ไม่เคยมีภรรยาไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม                      
                            6 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว                        
                            7 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม
                            8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาและไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท                      
                            9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียนทหารของกระทรวงกลาโหมหรือสถาบันการศึกษาใดๆ                     
                            10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ                                                   11 ไม่เป็นผู้อยู่ในสมณเพศ                     
                            12 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ                     
                            13 ไม่เป็นผู้มีรอยสักใดๆ ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
                                  ** เหล่าต้นหน และอุตุ จะต้องจบม.6 แผนวิทย์-คณิต **
                                  ** หากจบแผนศิลป์ หรือปวช. หรืออื่นๆ จะเลือกได้เฉพาะเหล่าสารวัตร และอากาศโยธินเท่านั้น ** 
            3. หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้                     
                             1 เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และไม่เกิน 20 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ(นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 คือ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน ลบด้วย ปี พ.ศ.ที่เกิด)
                             2 คุณวุฒิสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์) และมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00                    
                             3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (เกิดในประเทศไทย)ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดา มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้                   
                             4 มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และอวัยวะ เหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกาย ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยมาตรฐานการตรวจร่างกายทางแพทย์ฯ                    
                             5 เป็นชายโสด และไม่เคยมีภรรยาไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม             
                             6 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว                   
                             7 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม
                             8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาและไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท                   
                             9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียนทหารของกระทรวงกลาโหมหรือสถาบันการศึกษาใดๆ                   
                             10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ                                                    11 ไม่เป็นผู้อยู่ในสมณเพศ                   
                             12 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ                   
                             13 ไม่เป็นผู้มีรอยสักใดๆ ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ขนาดพิกัดร่างกาย

จำนวนรับ แต่ละปีรับจำนวนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราที่อนุมัติ เฉลี่ยประมาณ 220-250 นาย
การรับสมัคร
           1.  สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ (ซื้อระเบียบการหรือโหลดใบสมัครทาง อินเตอร์เน็ต http://www.atts.ac.th หรือ http://www.atts.rtaf.mi.th) 
           2.  สมัครด้วยตนเอง ที่อาคารรณนภากาศ โรงเรียนนายเรืออากาศ ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเตรียมรูปถ่าย(ถ่ายรูปกับกองรับสมัคร) ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ (มีระเบียบการจำหน่าย)
           3. สมัครทางอินเตอ์เน็ต ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ทาง http://www.atts.ac.thหรือ http://www.atts.rtaf.mi.th)
การสอบคัดเลือก
              - การสอบรอบแรกภาควิชาการ ประมาณต้นเดือนมีนาคม วิชาที่สอบ  ได้แก่
                                - วิชาคณิตศาสตร์ 175 คะแนน
                                - วิชาภาษาอังกฤษ 150 คะแนน
                                - วิชาภาษาไทย 100 คะแนน
                                - วิชาวิทยาศาสตร์ 175 คะแนน
ตามหลักสูตรปัจจุบันของกระทรวงศึกษาธิการ
              - การสอบรอบสอง การสอบรอบสอง ประมาณต้นเดือนเมษายน  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                - การตรวจขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งการตรวจโรคและความพิการที่ขัด ต่อการเป็นนักเรียนจ่าอากาศ  ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารอากาศแต่งตั้งในการตรวจครั้งนี้ถือ เป็นเด็ดขาด
                                - การทดสอบสุขภาพจิต(สอบความถนัดและวิภาววิสัย) เป็นการตรวจสอบลักษณะบุคลิกภาพ  แนวความคิด  อารมณ์  และจิตใจ ซึ่ง ผลการตรวจของคณะกรรมการในการตรวจถือเป็นเด็ดขาด
                                - การสอบความเหมาะสม  เป็นการสอบการสัมภาษณ์ ท่วงที – วาจา  เพื่อดูลักษณะท่าทาง  และความเหมาะสมในการเป็นทหาร  และความรู้ทั่วไปที่ควรทราบ (100 คะแนน)
                                            - การปฏิบัติตามคำสั่ง 20 คะแนน (ความเข้าใจคำสั่ง, ความรวดเร็ว,ความถูกต้อง, ความเข้มแข็ง และควบคุมอารมณ์)                                           
                                            - ลักษณะทหาร 20 คะแนน (ความสมส่วน, ความสมบูรณ์ส่วนบน,ความสมบูรณ์ส่วนล่าง, ลักษณะการเคลื่อนไหว และความเหมาะสมส่วนรวม)                                           
                                            - ท่วงทีวาจา 20 คะแนน (เสียงดัง, ไม่ติดอ่าง, ความชัดเจน, ความปกติของเสียงและความถูกต้องของภาษาพูด)                                           
                                            - ปฏิภาณไหวพริบ 20 คะแนน (ความคล่องแคล่วในการตอบ, ตัดสินใจรวดเร็วถูกต้อง, การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า, ความเชื่อมั่นในตนเอง และความคิดสร้างสรรค์)                                           
                                            - ความรู้รอบตัว 20 คะแนน (เกี่ยวกับตนเอง, การทหาร, กองทัพอากาศ, การเมืองและศาสนา, สังคม, วัฒนธรรม)
                                - การสอบพละศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ดังนี้
                                             - สถานีที่ 1 ดึงข้อราวเดี่ยว (10 ครั้ง) 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 2 วิ่งระยะทาง 1,000 เมตร 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 3 ลุก-นั่ง จับเวลา 30 วินาที 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 4 ยืนอยู่กับที่กระโดดไกล 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 5 ว่ายน้ำ จับเวลา ระยะทาง 50 เมตร 20 คะแนน
                                 - การส่งเอกสารผลคะแนนเฉลี่ยรวม ที่ไม่ต่ำกว่า 2.00
สิทธิและประโยชน์ที่นักเรียนจ่าอากาศได้รับ
            1 ได้รับจ่ายสิ่งของจากราชการตามอัตราจ่ายที่ทางราชการกำหนด           
            2 ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 75 บาท (เบี้ยเลี้ยงกรณีไปราชการนอกที่ตั้งปกติวันละ 94.- บาท)           
            3 ได้รับเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการทหารกองประจำการและนักเรียนทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2554 ดังนี้                   
                       1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ                           
                               - ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/10 เดือนละ 2,610 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/12 เดือนละ 2,890 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 3 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท                    
                        2 หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น                           
                               - ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/14 เดือนละ 3,270 บาท
                        3 หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ                           
                               - ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/14 เดือนละ 3,270 บาท
            4 โรงเรียนจ่าอากาศประกอบเลี้ยงอาหารทุกวัน วันละ 3มื้อ โดยใช้เงินเบี้ยเลี้ยงบางส่วนเป็นค่าอาหาร           
            5 ได้รับสิทธิ์ในการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทุน กองทัพอากาศ ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนกองทัพอากาศ ตามหลักเกณฑ์ที่กองทัพอากาศกำหนด (อายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่สมัครเป็นนักเรียนจ่าอากาศ = เฉพาะผู้สอบวุฒิม.3)
สิทธิประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษา     
            นักเรียนจ่าอากาศทุกเหล่าทหาร เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี รับเงินเดือนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารและการให้ได้รับเงินเดือน พ.ศ.2549 ดังนี้                     
             1 สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ม.3) ศึกษา 3 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,140 บาท                     
             2 สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น (วุฒิ ม.6) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท                     
             3 สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท                     
             4 สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ปวช.หรือเทียบเท่า) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 7,460 บาท                      
             อัตราเงินเดือนดังกล่าว เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ท้ายพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการฯ
ความก้าวหน้าในอาชีพ
             1 การศึกษา, ฝึกงาน หรือดูงานทั้งในและต่างประเทศผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศทุกเหล่าทหาร เมื่อรับราชการครบ 2 ปี มีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกไปศึกษา ฝึกงาน หรือดูงานทั้งใน และต่างประเทศ ตามที่ทางราชการกำหนด             
              2 เลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ทางราชการกำหนดมีสิทธิ์สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามความต้องการบรรจุกำลังพลในแต่ละปี (ครองยศพันจ่าอากาศเอก มีอายุ 36-39 ปี) ทั้งนี้ยังมีสิทธิสอบแข่งกับบุคคลพลเรือนในการสอบของบุคคลภายนอกประจำปีงบประมาณด้วย 
ความก้าวหน้าในแต่ละเหล่า
            1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปี ได้แก่
                      - ช่างอากาศ สามารถสอบคัดเลือกไปศึกษาดูงานต่างประเทศ สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร สามารถออกไปปฏิบัติงานสายการบินพาณิชย์ได้   หรือถ้าได้ทำงานบนอากาศยานจะได้รับเงินเพิ่ม 4,200 บาทต่อเดือน

ข้อมูลดีๆจาก http://www.iqcentre.org

เส้นทางสู่นายสิบทหารบก


เส้นทางสู่นายสิบทหารบก

การสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก และนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ

          โรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นสถาบันที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพบก มี ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี  โดย 6 เดือนแรกจะเน้นศึกษาวิชาทหารแต่ก็จะมีวิชาการเล็กๆน้อยๆที่ร.ร.นายสิบทหารบก หลังจากนั้นจึงจะให้นักเรียนนายสิบเลือกเหล่าที่ตนเองต้องการศึกษาตามลำดับคะแนนของ 6 เดือนแรก เพื่อแยกศึกษาต่อที่ร.ร.เหล่าใน 6 เดือนหลังและบรรจุหลังจบการศึกษา แบ่งออกเป็นจำนวน  13  เหล่า  ดังนี้
            1. เหล่าทหารราบ                    
            2. เหล่าทหารม้า                    
            3. เหล่าทหารปืนใหญ่
            4. เหล่าทหารช่าง                     
            5. เหล่าทหารสื่อสาร             
            6. เหล่าทหารขนส่ง
            7 เหล่าทหารสรรพาวุธ          
            8. เหล่าทหารพลาธิการ         
            9. เหล่าทหารการเงิน
            10. เหล่าทหารสารวัตร             
            11. เหล่าทหารแพทย์               
            12. เหล่าทหารการสัตว์
            13. เหล่าทหารการข่าว
ประเภทบุคคลที่จะรับสมัคร
          1. บุคคลพลเรือน เพศชาย อายุ 17-22 ปี (รับทั้งผู้เรียนนศท.และไม่เรียนนศท.)
          2. ทหารกองประจำการ (ทุกผลัด) ในสังกัดกองทัพบก (ไม่ต้องรอปลดประจำการ) อายุไม่เกิน 24 ปี
          3. พลทหารประจำการ ( พลอาสาสมัคร ) เพศชาย ในสังกัดกองทัพบก อายุไม่เกิน 24 ปี
          4. อาสาสมัครทหารพราน เพศชาย ในส่วนของกองทัพบก อายุไม่เกิน 24 ปี
คุณสมบัติของผู้สมัคร  
          1. สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6)  สายสามัญ สายอาชีพ หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่กำลังรอผลการศึกษา
          2. เป็นชายไทย  อายุตั้งแต่ 17 ปี ถึง 22 ปี ( ปีที่สมัครลบปีพ.ศ.เกิด )   ไม่รับสมัครผู้ที่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ และผู้ที่ขอผ่อนผันทุกกรณี     ยกเว้นผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3  (รด.ปี 3) ขึ้นไป  ซึ่งต้องมีหลักฐานใบสำคัญ หรือหากเป็นทหารกองหนุนต้องมีใบกองหนุน (สด.8)  หรือ ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (สด.43)  มาแสดงต่อกรรมการรับสมัคร
         3. ทหารกองประจำการ, พลทหารประจำการ (พลอาสาสมัคร) และ อาสาสมัครทหารพราน ในส่วนของกองทัพบก มีอายุไม่เกิน 24 ปี (ถ้าสมัครนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบจะต้องประจำการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
         4. มีสัญชาติไทยและบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
          5. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
          6. เป็นชายโสด ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
          7. ไม่อยู่ในสมณะเพศ
          8. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก  เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ  หรือ ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
          9. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
          10. ไม่เป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
          11 ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกมาก่อน
          12. ต้องได้รับอนุญาตจาก บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
          13. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติดหรือสารเคมีเสพติดให้โทษ   
          14. ต้องว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 25 เมตร
          15. ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจโรค ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด
          16. ไม่เป็นผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการ ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497  ในปีที่สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
พิกัดขนาดร่างกาย
โรคและความพิการที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
            1 ร่างกายผิดปกติ หรือวิกลรูปหรือพิการ
                   1 หน้าผิดรูปจนดูน่าเกลียดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                             - อัมพาตที่หน้า ( Facial paralysis)
                             - เนื้อกระตุก ( Tics)
                             - แผลเป็นหรือปานที่หน้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1.5ตารางนิ้วขึ้นไปหรือมีความยาวมากจนดูน่าเกลียด
                             - เนื้องอก ( Benign neoplasm) ที่หน้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 ซ.ม.ขึ้นไป
                    2 ปากผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น แหว่ง หรือผิดรูปจนพูดไม่ชัด
                    3 ช่องปากผิดรูป หรือผิดปกติจนพูดไม่ชัด
                    4 ซอกคอหรือซอกรักแร้ติดกัน
                    5 แขน หรือ ขา
                               - ยาวไม่เท่ากัน หรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด
                               - โค้งเข้าหรือออก
                               -  ลีบหรือบิดเก
                     6 มือ หรือ เท้า
                               - ลีบหรือบิดเก
                               - เท้าปุก
                      7 นิ้วมือ หรือ นิ้วเท้า
                               - บิดเกและทำงานไม่ถนัด
                               - ด้วนถึงโคนเล็บ
                               - มีจำนวนเกินกว่าหรือน้อยกว่าปกติ
                               - ช่องว่างระหว่างนิ้วหรือนิ้วเท้าติดกัน
                      8 คนเผือก
            2 กระดูกและกล้ามเนื้อ
                      1 ข้อติด ( Ankylosis) หรือหลวมหลุดง่าย
                      2 ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป
                      3 คอเอียงหรือแข็งทื่อจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อพิการ
                      4 กระดูกสันหลังคด หรือโก่ง หรือแอ่นจนเห็นได้ชัด
                      5 กระดูกอักเสบ ( Osteomyelitis )
                      6 กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น ( Atrophy or contracture )              
             3 ผิวหนัง
                       1 โรคผิวหนังเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาหรือเป็นที่น่ารังเกียจ
                       2 แผลเป็น ไฝ ปาน ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีขนาดตั้งแต่ 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้ว ขึ้นไปหรือมากจนดูน่าเกลียด
                       3 มีรอยสักบนส่วนต่างๆของร่างกาย
                       4 เนื้องอกเล็ก ๆ เป็นปุ่ม ๆ ที่ผิวหนังทั้งร่างกาย ( Molluscum  fibrosum )
                       5 ฝังมุก
              4 ตา
                        1 สายตาผิดปกติ แม้เพียงข้างเดียวโดยที่แก้ไขให้เป็น Spherical  Equivalent แล้ว  เกินกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ Spherical Equivalent นั้นมีความหมายว่าในการตรวจสอบสายตานั้น ถือ  สายตาสั้นหรือยาวเป็นสำคัญ ถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วยจะแก้สายตาเอียงนั้นให้เป็นสายตาสั้นหรือยาว คือทำให้เป็น Spherical Equivalent ถ้าแก้สายตาสั้นหรือยาวนั้นมากกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ ก็ถือว่าไม่สามารถเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกได้
                         2 บอดสี
                         3 ตาเหล่ ( Squint ) จนปรากฎชัด
                         4 ลูกตาสั่น ( Nystagmus )
                         5 แก้วตาขุ่น ( Cataract )
                         6 กระจกตาขุ่น ( Opacity of cornea )      
                         7 กระจกตาอักเสบเรื้อรัง ( Chronic interstitial keratitis )
                         8 หนังตาแหว่งจนเสียรูป
                         9 หนังตาตก
                         10 หนังตาม้วนเข้า ( Entropion ) หรือหนังตาม้วนออก ( Ectropion )
                         11 ช่องหนังตา ( Palpebral fissure ) กว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด
                         12 ต้อหิน
            5 หู คอ จมูก
                         1 ใบหูผิดรูปหรือผิดขนาดจนปรากฏชัด
                         2 ช่องหูมีหนองเรื้อรัง
                         3 แก้วหูทะลุ
                         4 การได้ยินเสียงผิดปกติ
                         5 โรคหรือความพิการใด ๆ ที่ทำให้เสียงผิดปกติ
                         6 เพดานโหว่ หรือเพดานสูงจนพูดไม่ชัด              
                         7 จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่น บี้ หรือแหว่ง
                         8 ริดสีดวงจมูก ( Nasal polyp
                         9 ต่อมทอลซิลอักเสบเรื้อรังและโตมาก (ในวันตรวจเพื่อรับเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ )
                         10 พูดติดอ่าง
            6 ฟัน
                          1 มีฟันไว้เคี้ยวอาหารได้ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ คือ กำหนดฟันกราม ( Molars )และฟันกรามน้อย ( Premolars )อย่างน้อยข้างบน 6 ซี่ และข้างล่าง 6 ซี่ ฟันหน้า ( Incisors and canines )ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ฟันที่ถอนไปแล้วหากได้รับการใส่เรียบร้อยมั่นคงหรือด้วยวิธีทำสะพาน ( Bridge )จึงให้นับเป็นจำนวนซี่ได้ ฟันตามจำนวนดังกล่าวข้างต้นนั้นจะต้องไม่มีลักษณะดังนี้
                                      - ฟันที่เป็นรูผุที่ไม่ได้รับการอุด หรืออุดด้วยวัตถุที่ไม่ถาวร
                                      - ฟันที่อุดหรือทำครอบไม่เรียบร้อย
                                      - ฟันน้ำนม
                                      - ฟันตาย เว้นแต่คลองประสาทได้รับการอุดที่ถูกต้องแล้ว
                                      - ฟันยาวผิดปกติ หรือขึ้นผิดที่ หรือเกจนไม่สามารถที่จะจัดให้สบกันได้กับฟันธรรมดาหรือฟันปลอม
                                      - มีการทำลายอย่างรุนแรงของอวัยวะที่รองรับตัวฟัน เช่น กระดูก เหงือก   เยื่อหุ้มรากฟัน
                           2 มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าห่างจนดูน่าเกลียด
                           3 การสบของฟันที่ผิดปกติอย่างมากจนทำให้ใบหน้าผิดรูป หรือการเคี้ยวอาหารธรรมดาไม่ได้ผล
                           4 ถุงน้ำ ( Cysts ) การอักเสบที่เรื้อรัง หรือโรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรง หรือพยาธิสภาพอื่นๆ ในปาก เช่น ฟันคุด ฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือฟันที่ขึ้นผิดที่ซึ่งสภาพการเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียงหรือสุขภาพของผู้สมัคร
            7 หัวใจและหลอดเลือด
                            1 หัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital heart disease )
                            2 ลิ้นหัวใจพิการ
                            3 หัวใจวายและมีเลือดคั่ง ( Congestive heart failure )
                            4 การเต้นของหัวใจผิดปกติ เร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที หรือช้ากว่า 50 ครั้ง/นาที
                            5 อนิวริซึมของหลอดเลือดใหญ่
                            6 หลอดเลือดดำขอดที่ขาหรือแขน ซึ่งเป็นมากจนเห็นได้ชัด
            8 ระบบหายใจ
                            1 วัณโรคปอด ( Pulmonary tuberculosis )
                            2 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ( Chronic bronchitis )
                            3 หลอดลมขยายพอง ( Bronchiectasis )
                            4 หืดหลอดลม
                            5 มีน้ำหรือหนอง หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
                            6 หลอดลมอักเสบซึ่งกำลังปรากฏอาการฟังได้ชัดเจน
            9 ระบบทางเดินอาหาร
                           1 ตับแข็ง ( Cirrhosis of liver )
                           2 ฝีที่ตับ ( Abscess of liver)
                           3 ดีซ่าน ( Jaundice )
                           4 ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นได้ชัด
                           5 ฝีคัณฑสูตร ( Perianal abscess )
                           6 ไส้เลื่อน
            10 ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค
                           1 ไตอักเสบเรื้อรัง 
                           2 ไตพองเป็นถุงน้ำ ( Hydronephosis or polycysfic Kidney  )
                           3 ไตพองเป็นถุงหนอง ( Pyonephrosis )
                           4 นิ่วในไตจนทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพอย่างถาวร ( Renal calculus with permanent impairment of renal function )
                           5 กล่อนน้ำ ( Hydrocele )
                           6 หลอดเลือดดำขอดที่ถุงอัณฑะ ( Varicocele )
                           7 กะเทย ( Hermaphrodism )
                           8 กามโรคที่ปรากฏอาการอย่างหนึ่งอย่างใด
            11 ระบบจิตประสาท
                           1 โรคจิต  ( Psychosis  )
                           2 อัมพาต  หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ
                           3 โรคลมชัก  ( Epilepsy )
                           4 ปัญญาอ่อน ( Mental deficiency )
                           5 ใบ้ 
            12  ระบบต่อมไร้ท่อ
                            1 โรคคอพอก  ( Simple goiter  )
                            2 ธัยโรทอกธิโคซิส
                            3 มิกซิเดมา   ( Myxedema )
                            4 เบาหวาน ( Diabetes mellitus )
                            5 โรคอ้วนพี ( Obesity )
            13 โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด ( disease of blood and blood forming organ  ) ผิดปกติอย่างถาวรและอาจเป็นอันตราย
            14 โรคติดเชื้อหรือโรคเกิดจากปาราสิต ( Infectious and parasitic disease )
                            1 โรคเรื้อน
                            2 โรคเท้าช้างที่ปรากฏอาการ
                            3 วัณโรคของอวัยวะอื่น
                            4 โรคคุดทะราด หรือ รองพื้น  ( Yaws )
                            5 โรคติดต่ออันตราย
            15 เนื้องอก
                             1 เนื้องอกไม่ร้าย ( Benign neoplasm ) ที่มีขนาดใหญ่
                             2 เนื้องอกร้าย ( Malignant neoplasm ) ไม่ว่าจะเป็นแก่อวัยวะใด
             16 โรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ
             17 โรคหรือความพิการใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ แต่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าไม่สมควรรับเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
             18 โรคเอดส์
คะแนนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้สมัคร
          1. ผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5
          2. บุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ
          3. บุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน  ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ  ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่  หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่  หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น  ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ  ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน
          4. บุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือสงคราม  หรือ มีการปราบปรามการจลาจล  หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
          5. นักกีฬาทีมชาติ  นักกีฬาทีมเขต (กีฬาแห่งชาติ)       นักกีฬาทีมเยาวชนแห่งชาติ นักกีฬาเขตการศึกษา  นักกีฬาทีมสโมสร ( เฉพาะถ้วย ก. )   และนักกีฬากองทัพบก    ซึ่งออกให้โดย   คณะกรรมการบริหารโอลิมปิกแห่งชาติ    การกีฬาแห่งประเทศไทย    กรมพลศึกษา    สมาคมการกีฬาแต่ละประเภท    หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนากีฬากองทัพบก
          6. ทหารกองประจำการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม  ไม่น้อยกว่า    ๑๒๐  วัน ก่อนวันที่จะสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก
จำนวนที่รับ 
          1. บุคคลพลเรือน 1188 นาย
          2. กองหนุน/พลอาสาสมัคร/ทหารกองประจำการ/อาสาสมัครทหารพราน 792 นาย
          3. นักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ 600 นาย
กำหนดการรับสมัคร  จะเริ่มจำหน่ายระเบียบการประมาณเดือน ธ.ค. และจะเริ่มรับสมัครประมาณปลายเดือน ม.ค. โดยการรับสมัครจะมีคณะกรรมการไปรับสมัครทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ดังนี้
          - กองทัพภาคที่ 3 จ.พิษณุโลก
          - กองทัพภาคที่ 2 จ.นครราชสีมา
          - มทบ.24 จ.อุดรธานี
          - กองทัพภาคที่ 4 จ.นครศรีธรรมราช
          - กรมยุทธศึกษาทหารบก กทม.
วิชาที่สอบ
          - ภาควิชาการ รอบแรกสอบ 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
          - ภาคพลศึกษา รอบที่สอง ได้แก่
                        - ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย (ต้องผ่านเกณฑ์ต่ำสุดทุกสถานี และรวมกันเกิน 50%)
                                    - ดึงข้อ เกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ครั้ง เกณฑ์50% 7 ครั้ง เกณฑ์100% 15 ครั้ง
                                    - ดันพื้น(2นาที) เกณฑ์ขั้นต่ำ 10 ครั้ง เกณฑ์50% 34 ครั้ง เกณฑ์100% 84 ครั้ง
                                    - ลุกนั่ง(30วินาที) เกณฑ์ขั้นต่ำ 11 ครั้ง เกณฑ์50% 21 ครั้ง เกณฑ์100% 38 ครั้ง
                                    - วิ่ง1,000ม. เกณฑ์ขั้นต่ำ 4.45 นาที เกณฑ์50% 4.15 นาที เกณฑ์100% 3.25 นาที
                        - ว่ายน้ำ 25 เมตร ภายใน 2 นาที
                        - ตรวจโรค ประวัติิอาชญากรรม สัมภาษณ์ ความสมบูรณ์ของร่างกาย
สิทธิประโยชน์ของนักเรียนนายสิบทหารบก
          1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนตัว)
          2. ได้รับการแจกจ่ายเครื่องแบบ และเครื่องใช้ส่วนตัว ตลอดการศึกษา
          3. ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 75 บาท (เป็นค่าอาหารที่ร.ร.)
          4. ได้รับเงินเดือน เดือนละ 3,070 บาท
สิทธิเมื่อจบการศึกษา
          1. บรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็น สิบตรี รับเงินเดือนระดับ ป.1 ชั้น 6 จำนวน 6,140 บาท
          2. ผู้มีผลการศึกษาดี มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 และคะแนนรายวิชาไม่ต่ำกว่า 3.00 มีความประพฤติเรียบร้อย คะแนนความประพฤติตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไปถ้านักเรียนผู้นั้นสมัครใจ ให้ได้รับสิทธิ์เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทั้งนี้ จำนวนและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้เป็นไปตามที่กองทัพบกกำหนดหากผู้ได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวสละสิทธิ์ หรือไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ ให้ผู้ที่สอบได้ลำดับรองลงไปที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นได้รับสิทธิ์ในโรงเรียนเตรียมทหารหรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแทน โดยให้โรงเรียนนายสิบทหารบกเป็นผู้พิจราณาคัดเลือกแล้วรายงานกรมยุทธศึกษาทหารบก (ปัจจุบันคือ 18 นาย) 
          3. เมื่อรับราชการครบ 6 ปี และมีวุฒิปริญญาตรีตามที่กองทัพต้องการ สามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรได้



ข้อมูลดีๆจาก http://www.iqcentre.org/